วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชไทยสากล






การนับศักราช
1. การนับศักราชแบบไทย 1.1 พุทธศักราช(พ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเริ่ม พ.ศ. 1 ปีที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บางยุคสมัยต่อมาเปลี่ยนไปใช้ศักราชแบบอื่นบ้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ประกาศให้ใช้การนับศักราช พ.ศ.เป็นทางการ มาจนถึงปัจจุบัน

1.2 มหาศักราช(ม.ศ.) เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียตอนเหนือคิดขึ้นมาใช้ เมื่อ พ.ศ.622 หลักฐานที่มีการใช้คือ หลักศิลาจารึก หลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
การเทียบ ม.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621 (ม.ศ.+621 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ม.ศ. ให้ลบ ด้วย 621 (พ.ศ.- 621 = ม.ศ.)

1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นสักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามเป็นผู้ตั้งขึ้น ได้แพร่มาสู่ไทยสมัยอยุธยา ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ พบมากในพงศาวดาร ตำนาน และจดหมายเหตุ
การเทียบ จ.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 (จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น จ.ศ. ให้ลบ ด้วย 1181 (พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.)

1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่รัชกาลที่5โดยเริ่มนับร.ศ.1ปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2325)
การเทียบ ร.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2325 (ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ร.ศ. ให้ลบด้วย 2325 (พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.)

2. การนับศักราชแบบ สากล ชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้บัทึกเรื่องราวที่ตนพบเห็นเป็นศักราชดังนี้ 2.1 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับ ค.ศ. 1 เมื่อ พระเยซูประสูติ(ตรงกับพ.ศ. 544) 2.2 ฮิเราะห็ศักราช (ฮ.ศ) เป็นศาสนาของศาสนาของอิสลาม เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ในปีที่พระนบี มุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา(ตรงกับ พ.ศ. 1123) การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่ยังไม่มีการใช้การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่ง 2 ยุคย่อย คือ 1.1 ยุคหิน (ในดินแดนประเทศไทย)
ยุคหินเก่า 700,000 - 10,000 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือหินกรวดกระเทาะหน้าเดียว ที่อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, บ้านเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่
ยุคหินกลาง 10,000 - 4300 ปีมาแล้ว รู้จักประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ใช้เครื่องมือทำด้วยหินที่ประณีต รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฝังศพ แหล่งพบหลักฐาน ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ยุคหินใหม่ 4300 - 2000 ปีมาแล้ว เครื่องมือทำด้วยหินขัด โดยตกแต่งให้ใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ประณีตมากขึ้น เช่นทำแบบมีสามขา เขียนลวดลายและสี
แหล่งค้นพบ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี, บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี, บ้านโนนนกทาจัหวัดขอยแก่น 1.2. ยุคโลหะ แบ่งย่อยเป็น
ยุคสำริด 3500 ปี - 2500 ปี รู้จักถลุงแร่นำมาผสมเรียกว่าสำริด คือทองแดงกับดีบุก เพื่อทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีด ขวาน หอก หัวลูกศร กลอง แหวน กำไร ฯลฯแหล่งค้นพบ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี , บ้านโคกพลับจังหวัดราขบุรี
ยุคเหล็ก 2500 ปี - 1500 ปี มาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กมาทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้แหล่งค้นพบ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี , บ้านเชียง จ.อุดรธานี 2. สมัยประวัติศาสตร์ (ในประเทศไทย) เริ่มนับจากปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย การแบ่งสมัยประศาสตร์ของไทยแบ่งได้ 3 ลักษณะ 1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง คือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และสมัยประชาธิปไตย 3. แบ่งตามประสัติศาสตร์สากล คือ สมัยโบราณ เริ่มก่อนสุโขทัย จนสิ้นสมัยรัชกาลที่ 3 สมัยใหม่ (สมัยปรับปรุงประเทศ) เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงพ.ศ. 2475 ปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน